วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

เอกสารการสอนวิชากฎหมายความผิดเด็ก ชุดที่ 1


เอกสารการสอนวิชากฎหมายความผิดเด็ก ชุดที่ 1
อาจารย์เมธาพร  กาญจนเตชะ
บทนำ

ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.. 2494  และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน  พ. . 2494  พร้อมตั้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเพื่อให้มีการแก้ไขฟื้นฟูเด็กที่กระทำความผิดเป็นครั้งแรกและต่อมาเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีมาตรฐานการปฏิบัติอย่างสากลมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยได้รับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989  ส่งผลให้มีการบัญญัติกฎหมายสำหรับที่ใช้กับเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ได้แก่  การตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  พ.. 2534 แต่ได้มีการยกเลิกในเวลาต่อมา   โดยตราพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

1. วิวัฒนาการของการคุ้มครองสิทธิเด็กของไทย
                ในทางประวัติศาสตร์สังคมไทยให้อำนาจของบิดาในการปกครองบุตรมีมากมายและสามารถกระทำการใดๆ  ต่อบุตรก็ย่อมได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด  เห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายเก่าซึ่งกำหนดให้ภริยาและบุตรต้องรับผิดในทางแพ่งและอาญาในการทำละเมิดของคหบดี  การที่ภริยาและบุตรต้องรับผิดเช่นนี้  มิใช่ในฐานะของสมาชิกในครอบครัว  แต่กฎหมายถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของคหบดีผู้กระทำผิด   ดังนั้นแนวคิดเรื่องอำนาจบิดาเหนือบุตรจึงมีลักษณะคล้ายกับการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ [1]   แสดงให้เห็นถึงอำนาจของบิดาที่มีเหนือบุตรในด้านต่างๆ  โดยบุตรไม่มีสิทธิโต้แย้งใดๆ  อีกทั้งรัฐยังมิได้ให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เด็ก  จากการที่กฎหมายให้อำนาจบิดาเหนือบุตรอย่างมากเช่นนี้   จึงเป็นช่องว่างให้บิดาสามารถจะจำหน่าย  ลงโทษอย่างใดก็ได้โดยไม่มีความผิด    เห็นได้จากประกาศของรัชกาลที่ ซึ่งมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า
วิสัยคนตระกูลต่ำมีแต่คิดจะหาเงินหาทองย่อมข่มขืนบุตรหลานของตัวเองไปขายเอาไปให้   ให้ไปต้องทนยากอยู่ในที่ที่ตัวจะได้เงินได้ทองมาก  แต่บุตรไม่ควรที่จะต้องยากเพราะบิดามารดา  จึงต้องตัดสินให้ตามใจบุตรสมัครเป็นกรณีที่บิดามารดาจะขายบุตรให้แก่ผู้อื่นบุตรต้องสมัครใจด้วย  ทางปฏิบัติจึงเกิดปัญหาขึ้นเมื่อบิดามารดาขายบุตรในราคาสูงและบุตรไม่สมัครใจ   แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ  เมื่อเป็นเช่นนี้รัชกาลที่ 4 จึงได้ประกาศกฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการขายบุตรของบิดาและมารดาว่าจะกระทำได้ต้องให้บุตรยอมและยินยอมให้ขายได้ราคาเท่าใดก็ขายได้เพียงเท่านั้น   จึงถือได้ว่าประกาศดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายที่สร้างหลักประกันสิทธิให้แก่เด็กฉบับแรกของประเทศไทย [2]
ต่อมาภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร. . 127 สิทธิและหน้าที่ของเด็กก็ยังคงอยู่ใต้อำนาจการปกครองดูแลของบิดามารดาอย่างปราศจากเงื่อนไขจนกระทั้ง พ.. 2477 ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองของบิดามารดา ได้แก่  กรณีที่มีบิดามารดามีสิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน  ดังนั้นจะลงโทษบุตรด้วยเหตุผลอื่นไม่ได้   การคุ้มครองเด็กถือว่าเริ่มในกฎหมายแพ่งในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตรและความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร
                การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำผิดแต่เดิมนั้นเป็นไปเช่นเดียวกับกระบวนยุติธรรมที่ใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่   เมื่อเด็กนั้นกระทำความผิดทางการจึงส่งเด็กเหล่านี้ไปยังโรงเรียนฝึกอาชีพ ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ. . 2478  และสถานฝึกและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก   . . 2479 โดยให้อำนาจศาลสั่งให้เด็กที่มีอายุในเกณฑ์บังคับไม่เกิน  15  ปีที่ไม่ได้เรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาโดยปราศจากเหตุอันควร  ไปไว้ยังโรงเรียนฝึกอาชีพ    โดยกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพขึ้นตาม พระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก พ.ศ. 2479 เพื่อทำการฝึกอบรมเด็กจำพวกที่กำหนดไว้   ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 และพระราชบัญญัติจัดฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก   พ.ศ. 2479  ได้บัญญัติไว้ว่า วิธีการปฏิบัติต่อนักโทษและต่อเด็กที่ต้องคำพิพากษา ให้หนักไปทางฝึกอบรม...  และกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพสำหรับเด็กซึ่งกระทำความผิดที่มีอายุไม่ครบ  18  ปี  สำหรับผู้ต้องโทษที่มีอายุต่ำกว่า  25  ปี  ได้มีสถานที่ควบคุมเป็นพิเศษถือเป็นการแยกควบคุมผู้ต้องโทษเป็นครั้งแรก  และได้ปรับปรุงสถานที่ดังกล่าวขึ้นเป็นทัณฑสถานวัยหนุ่ม
                ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้โอนกิจการโรงเรียนฝึกอาชีพไปให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการ  ณ  เยาวชนบ้านห้วยโป่ง  จังหวัดระยอง ตามพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2481 โดยให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าหน้าที่จัดการกับเด็กนักเรียนหรือเด็กอนาถาที่ประพฤติตนไม่สมควรแก่วัย   ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีสารวัตรนักเรียนเพื่อทำการควบคุมดูแลความประพฤติของนักเรียนที่เร่รอน  หรือมีความประพฤติไม่เหมาะสมนอกโรงเรียน โดยจะว่ากล่าวตักเตือนและแจ้งเหตุให้โรงเรียนทราบ   พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ได้เฉพาะในเขตพระนครเท่านั้น 
จากบทบัญญัติของกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ก่อนมีศาลเด็กและเยาวชน   การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนยังคงใช้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมระบบเดียวกับผู้ใหญ่ที่กระทำความผิด    เมื่อได้พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายแต่ละฉบับที่ได้กล่าวมา  พบว่ายังมีข้อบกพร่องและอุปสรรคอยู่หลายอย่าง  เพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้สำหรับการปฏิบัติต่อเด็กหลังจากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว  ส่วนวิธีการปฏิบัติต่อเด็กในระหว่างที่ถูกจับกุมและอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลไม่มีกฎหมายบัญญัติวิธีการไว้  เด็กและเยาวชนจึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกับผู้ใหญ่กระทำความผิด  ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมและมีผลเสียหายแก่เด็กได้ ต่อมากลุ่มผู้นำทางศีลธรรม (Moral Entrepreneurs) ที่มีความเชื่อว่า  บรรดาเด็กและเยาวชนจะต้องได้รับการปกป้อง  คุ้มครองให้ได้รับความปลอดภัย  อีกทั้งเห็นว่า  ควรจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนของไทยขึ้น  ตามกรอบแนวความคิดการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา  ที่ว่า รัฐในฐานะผู้ปกครองที่มีอำนาจที่จะเข้าแทรกแซงครอบครัวเมื่อครอบครัวมีปัญหา  หรือทำหน้าที่ของตนบกพร่อง และให้แยกเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดออกจากผู้ใหญ่ที่กระทำผิด [3] จากแนวคิดความเชื่อของกลุ่มผู้นำทางศีลธรรม ได้มีส่วนกระตุ้นและผลักดันให้รัฐบาลไทยสนใจที่จะจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน  และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น (พล.ร.ต. ถวัลย์   ธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้ส่งหลวงปาณี ศรีศีลวิสุทธิ  ไปดูงานเกี่ยวกับศาลในทวีปเอเชียและยุโรป  รวมทั้งให้ดูเรื่องศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงถือเป็นการเรียนรู้และรับเอากรอบแนวคิดหรือกระบวนทัศน์เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  โดยเมื่อกลับมาแล้วผู้ที่ไปศึกษาดูงานได้ถ่ายทอดแนวคิดหรือที่ได้รับมาในครั้งนั้น  ในรูปของรายงานการศึกษาดูงานเสนอต่อกระทรวงยุติธรรม  ต่อมาได้มีบันทึกของประธานศาลฎีกา  รายงานทำความเห็นเรื่องศาลคดีเด็กและเยาวชนในประเทศต่างๆ  ตลอดจนสถานการณ์ในประเทศไทยหากจะจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน  หากจะจัดตั้งศาลคดีและเยาวชน  เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  แต่เรื่องนี้ต้องระงับไว้เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2493  ได้มีการรื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นอีกครั้ง  ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้จัดส่งคณะผู้พิพากษาไปดูงานศาลคดีเด็กและเยาวชนที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกรุ่นหนึ่ง  จึงเป็นการเรียนรู้และรับเอากรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน  และการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดที่มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิด  ทฤษฎีของประเทศตะวันตกมาสู่ประเทศไทย จากนั้นกระทรวงยุติธรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการอบรมและสงเคราะห์ และได้มีการจัดตั้งศาลเด็กและเยาวชนขึ้น  และได้มีการวางแนวการจัดตั้งศาลและเยาวชนเป็นศาลอาญาปนศาลแพ่ง  โดยนำเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในทางอาญา และในทางแพ่งเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองเท่านั้น ต่อมาได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน  พ. . 2494 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน  พ. . 2494  ต่อมาคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติ  ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย (ราชกิจจานุเบกษา,ลงวันที่  3  กรกฎาคม พ.ศ.  2494)  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ซึ่งกำหนดให้จัดตั้ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง  ขึ้นในจังหวัดภายใน  180  วัน  นับแต่วันบังคับใช้พระราชบัญญัติ  และจัดให้มีหน่วยงานสำหรับตรวจพิเคราะห์  ฝึกอบรม  และสงเคราะห์เด็ก  เรียกว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง  โดยประสงค์จะให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง  เป็นเครื่องมือของศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนทุกระยะ 
การคุ้มครองสิทธิของเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา   เป็นบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการที่นำมาใช้สำหรับเด็กซึ่งการปฏิบัตินั้นมีวิธีการที่แตกต่างกันโดยคำนึงถึงอายุเป็นหลัก
1) เด็กอายุไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 73)[4] บทบัญญัติในมาตรานี้แสดงให้เห็นว่า  เด็กอายุไม่เกินสิบปีได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดอาญา   ซึ่งหมายถึง  เด็กนั้นไม่อาจมีความสามารถในการกระทำความผิดอาญาได้  จึงห้ามเด็ดขาดมิให้ลงโทษอาญาแก่เด็ก    แต่ยังถือว่าการกระทำของเด็กก็ยังเป็นความผิดอยู่เพียงแต่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องรับโทษเท่านั้น
2) เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี  กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ  แต่ศาลอาจดำเนินการวางข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ  ประกอบด้วยตามที่เห็นสมควร (มาตรา 74) [5] โดยทั่วไปยังคงถือว่าไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดอาญา  แต่ในความคิดสมัยใหม่มักจะมีการระบุอายุในการกระทำความผิดตามลักษณะความผิด  ไม่สันนิษฐานให้เป็นคุณทั้งหมด  ตามกฎหมายอาญาไทยจะลงโทษเด็กนั้นไม่ได้  แต่ศาลอาจใช้วิธีการสำหรับเด็กเพื่อแก้ไขปรับปรุงตัวเด็กได้
3) บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ต่ำกว่าสิบแปดปี   กระทำการอันกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด  ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้สึกผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควรลงโทษหรือไม่  ถ้าไม่ควรก็จัดการตามมาตรา 74  ถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ   ก็ให้ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง (มาตรา 75) [6] ศาลจะต้องพิจารณาว่าจะควรลงโทษแก่เด็กหรือไม่  ทั้งนี้ศาลจะต้องคำนึงว่าเด็กนั้นย่อมมีความเจริญของมันสมองและร่างกายผิดกับผู้ใหญ่และมีลักษณะกระทำผิดได้ง่าย  การกระทำผิดของเด็กจึงมีลักษณะเป็นโรคซึ่งควรจะได้รับการเยียวยารักษาให้หายและศาลต้องคำนึงถึงความยุติธรรมด้วย 
4) บุคคลอายุตั้งแต่สิบแปดปีแต่ไม่เกินยี่สิบปี   กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ (มาตรา  76)[7]  โดยทั่วไปแล้วจะถือว่า  ผู้ที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีมีความรับผิดชอบเป็นผู้ใหญ่ได้แล้ว  แต่อาจไม่จริงเสมอไป   เนื่องจากมีกรณีไม่น้อยที่บุคคลอายุกว่าสิบเจ็ดปี  แต่มีความรู้สึกผิดชอบยังไม่เต็มที่  เพราะมันสมองยังเจริญเติบโตช้า  ถ้าศาลจะลงโทษก็อาจไม่เหมาะสม  มาตรานี้จึงเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจที่จะลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสามหรือไม่เกินกึ่งหนึ่งได้
                การที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองในอนุสัญญาสิทธิเด็กตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น   ส่งผลให้ประเทศไทยต้องบัญญัติกฎหมายที่ให้ความเหมาะสมในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนในด้านต่างๆ  จนกระทั้งในปัจจุบันประเทศไทยก็ได้มีการบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่รวมทั้งพัฒนาแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่เดิมนั้นให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งได้แก่  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.. 2534 กำหนดวิธีการพิเศษที่นำมาใช้แก่เด็กที่กระทำผิด โดยเน้นให้ได้รับการสงเคราะห์ เยียวยาและแก้ไขแทนที่จะลงโทษจำคุก อีกทั้งการให้การศึกษาอบรมและฝึกฝนอาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตที่ดีงามต่อไป    

2. ปรัชญาในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด
             แนวความคิดหรือปรัชญาในเชิงอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา สามารถแบ่งแยกได้เป็น 2 แนวหลัก ๆ ได้แก่
             ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษ เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อผู้กระทำผิด ป้องกันและปราบปรามมิให้มีการกระทำความผิด มักพบแนวความคิดเช่นนี้ในสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม แนวความคิดนี้ จะกำหนดโทษและลงโทษผู้กระทำผิดเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านอายุของผู้กระทำผิด ดังที่เคยพบว่า ที่ประเทศอังกฤษ ศาลได้พิพากษาตัดสินและลงโทษเด็กอายุ 9 ขวบ ฐานลักทรัพย์ด้วยการแขวนคอ
             ปรัชญาที่มุ่งเน้นต่อการแก้ไขฟื้นฟู เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ที่กระทำความผิดบางจำพวก ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่ายังพอที่จะเยียวยาได้โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขความประพฤติได้ แทนที่จะลงโทษ มักพบแนวความคิดเช่นว่านี้ในสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพวกเสรีนิยม
             ในนานาอารยประเทศรวมทั้งประเทศไทย การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดได้ดำเนินตามแนวปรัชญาที่มุ่งแก้ไขฟื้นฟู และช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดให้สามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่า เด็กและเยาวชนยังสามารถที่จะเยียวยาแก้ไขเปลี่ยนแปลงความประพฤติได้ และการที่รัฐเข้ามาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดแทนพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นวิธีการที่ยอมรับโดยทั่วไป รัฐจึงต้องหามาตรการต่าง ๆ ที่จะมุ่งฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดให้สามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ มากกว่าที่จะใช้อำนาจลงโทษอย่างรุนแรง ดังจะเห็นได้จากที่ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ซึ่งถูกยกเลิกและเปลี่ยนมาใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว

3. สาเหตุการกระทำความความผิดของเด็ก
สาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นสาเหตุเฉพาะบุคคลบางคนอาจมีเพียงสาเหตุเดียว ในขณะที่บางคนก็มีหลายสาเหตุประกอบกัน สาเหตุแห่งการกระทำความผิดมีอยู่หลายประการ และอาจแยกศึกษาเป็น 3 ด้านคือ
3.1 ด้านกฎหมาย
             นักกฎหมายเน้นว่า  สาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากความเยาว์วัย การรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือการถูกหลอกใช้จากผู้ใหญ่ จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในทางอาญา โดยถือว่าเป็นเพียงพฤติกรรมเบี่ยงเบน จึงไม่ลงโทษในทางอาญาแต่จะใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทน เพื่อแก้ไขความประพฤติ
                3.2 ด้านสังคมวิทยา
             นักสังคมวิทยาอธิบายถึงสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนว่ามาจากการที่เด็กและเยาวชนนั้นได้รับแบบอย่างความประพฤติที่ไม่ดี จากบุคคลที่อยู่รอบข้าง เด็กและเยาวชนยังขาดความหนักแน่นทางจิตใจ จึงอาจถูกครอบงำ ชักจูงได้ง่าย ทำให้พฤติกรรมเด็กและเยาวชนประพฤติผิดไปจากบรรทัดฐานของสังคมและกลายเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายในที่สุด
                3.3  ด้านจิตวิทยา
             นักจิตวิทยาอธิบายสาเหตุของการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเอาไว้หลายทฤษฎี กล่าวคือบางทฤษฎีเห็นว่า การกระทำความผิดนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือทางจิต ซึ่งอาจมีมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะผลักดันให้อารมณ์ของบุคคลแปรปรวน ยิ่งเป็นเด็กหรือเยาวชน ก็อาจะทำให้เกิดการขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และมีพฤติกรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อสังคมและคนรอบข้างและกระทำความผิดได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่รุนแรง
             อย่างไรก็ตาม เราสามารถแยกแยะสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ด้วยกัน
             (1) สาเหตุจากสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเด็กและเยาวชน เช่นครอบครัว สถานที่อยู่อาศัย บุคคลรอบข้าง สถานเริงรมย์ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น หรือบังเกิดความวุ่นวายในสังคม
             (2)  สาเหตุที่เกิดจากตัวของเด็กและเยาวชนเอง เช่น ความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจหรือเกิดจากพันธุกรรมของเด็กและเยาวชน
4. การกระทำความผิดของเด็ก
                เด็กที่กระทำความผิดอาญาในทางวิชาการยังไม่ถือว่าเด็กเหล่านี้เป็นอาชญากร  ความผิดที่เด็กกระทำนั้นแตกต่างกับที่ผู้ใหญ่กระทำทั้งในแง่เจตนาและการกระทำ   เพราะเด็กย่อมมีความยั้งคิดน้อยกว่าผู้ใหญ่และ ควรแก้ไขเสียแต่ในวัยเด็ก [8]   การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนนั้น ตรงกับคำว่า “Juvenile Delinquency” ซึ่งในทางวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ไม่ถือว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นอาชญากรรม แต่จะเรียกการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนว่า การกระทำผิดและไม่เรียกเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดว่าเป็นอาชญากร
        




[1]  ร. แลงกาต์ , ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เล่ม 1,พิมพ์ครั้งที่ 1,(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2526),.95.
[2]  สรรพสิทธิ์  คุมพ์ประพันธ์ , “แนวทางการป้องกันแก้ไขการละเมิดสิทธิเด็กในประเทศไทย”,ดุลพาห,ปี 45,เล่ม 1,(.. – มิ.. 2541),น.16.
[3] วิชา  มหาคุณ. ศาลเยาวชนและครอบครัวตามแนวความคิดสากล. พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ,2541) หน้า 48-49.
[4] แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
[5]  แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
[6] แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
[7] แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551

[8]  สง่า  ลีนะสมิต,กฎหมายเกี่ยวการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน, พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม,(กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์,2523),หน้า 5.

เอกสารการสอนวิชากฎหมายความผิดเด็ก ชุดที่ 2 อาจารย์เมธาพร กาญจนเตชะ


เอกสารการสอนวิชากฎหมายความผิดเด็ก ชุดที่ 2
อาจารย์เมธาพร  กาญจนเตชะ
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจต่อเด็กและเยาวชน

1. การจับกุมเด็กและเยาวชน
1.1 การจับกุมเด็ก[1]
                     โดยหลักการห้ามมิให้จับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด  เว้นแต่เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  หรือมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล
                การกระทำความผิดซึ่งหน้า [2] ได้แก่
1) ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ  หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
2) กฎหมายให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า  ในกรณีดังต่อไปนี้คือ  เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดังผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ  หรือเมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด  หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น และเป็นความผิดอาญาที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                                สรุปได้ว่าการจับกุมเด็กนั้นกระทำได้  ดังนี้
1)      เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า
2)      มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล
                                นอกเหนือจาก 2 กรณีนี้และจะจับเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไม่ได้
                1.2 การจับกุมเยาวชน[3]
                       หลักการของมาตรา 66 วรรคสอง  บัญญัติให้การจับกุมเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติถึงการจับกุมไว้ว่า[4] พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลไม่ได้  เว้นแต่
1)       เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า
2)       เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
3)       เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (2)  แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
4)       เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117
                สำหรับการจับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด กับการจับกุมเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีข้อแตกต่างกันที่ว่า  พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมเยาวชนได้โดยไม่มีหมายหรือคำสั่งศาลในกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (2) (3) และ(4) ด้วย  แต่การจับเด็กไม่อาจนำข้อยกเว้นดังกล่าวไปใช้ได้เพราะมาตรา 66 วรรคหนึ่ง มีความหมายชัดเจนว่า  ห้ามมิให้จับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด  เว้นแต่เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  หรือมีหมายจับหรือคำสั่งศาล[5]

2. การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา[6]
                มาตรา 69 วรรคหนึ่ง  ได้กำหนดวิธีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดและการนำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับส่งพนักงานสอบสวนโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1)       ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งแก่เด็กหรือเยาวชนนั้นว่าเขาต้องถูกจับ  และแจ้งข้อกล่าวหารวมทั้งสิทธิตามกฎหมายให้ทราบ  หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ
คำว่า “สิทธิตามกฎหมาย” หมายความถึงสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสอง  คือ ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้  และผู้ถูกจับมีสิทธิที่พบและปรึกษาที่ปรึกษากฎหมายหรือผู้ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษากฎหมาย  ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด  ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี  ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
2)       จะต้องนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับทันที  เพื่อให้พนักงานสอบสวนของท้องที่ดังกล่าวส่งตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบโดยเร็ว  ส่วนการส่งตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปยังสถานพินิจ  พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะดำเนินต่อไปตามมาตรา 70
มาตรา 69 วรรคสอง  บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้จับกุมแจ้งการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ดังนี้
1)       ถ้าขณะจับกุมมีบิดา มารดา ผู้ปกครองบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย  อยู่ด้วยในขณะนั้น
1.1)      ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งเหตุแห่งการจับให้บุคคลดังกล่าวทราบ
1.2)      ในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี เจ้าพนักงานผู้จับจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้
2)       ถ้าในขณะนั้นไม่มีบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่กับผู้ถูกจับ
2.1) ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งให้บุคคลดังกล่าวคนใดคนหนึ่งทราบถึงการจับกุมในโอกาสแรกเท่าที่สามารถกระทำได้
2.2) หากผู้ถูกจับประสงค์จะติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบุคคลเหล่านั้นซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการจับกุม  และอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ให้เจ้าพนักงานผู้จับดำเนินการให้ตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
นอกจากนี้มาตรา 69 ยังได้บัญญัติถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้จับกุมแจ้งข้อหาแก่เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดซึ่งถูกจับกุม
1)       ก่อนส่งตัวผู้ถูกจับให้พนักงานสอบสวนแห่งห้องที่ที่ถูกจับ
1.1)      เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้จับจะต้องทำบันทึกการจับกุมโดยแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ
1.2)      ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมถามคำให้การผู้ถูกจับ
1.2.1) ถ้าขณะทำบันทึกดังกล่าวบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ต้องกระทำต่อหน้าบุคคลดังกล่าวและจะให้ลงลายมือชื่อเป็นพยานด้วยก็ได้
1.2.2) ถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของเด็กหรือเยาวชน  แต่ศาลอาจนำนำมาฟังคุณแก่เด็กหรือเยาวชนได้


3. การปล่อยชั่วคราว
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 72 ได้กำหนดวิธีปฏิบัติที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติเมื่อได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ  สำหรับที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวได้กำหนดไว้ในมาตรา 72 วรรคสอง “ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดมีบิดา มารดา  ผู้ปกครอง  หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย  และบุคคลหรือองค์การดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังสามารถปกครองดูแลเด็กหรือเยาวชนนั้นได้  พนักงานสอบสวนอาจมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้แก่บุคคลดังกล่าวไปปกครองดูแลและสั่งให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปยังศาลภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนภายหลังถูกจับ  ในกรณีเช่นว่านี้  หากพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเด็กหรือเยาวชนจะไม่ไปศาล  พนักงานสอบสวนจะเรียกประกันจากบุคคลดังกล่าวตามควรแก่กรณีก็ได้”
                จากบทบัญญัติดังกล่าวถือเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่พนักงานสอบสวนอาจมอบตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับให้แก่บิดา มารดา  ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยไปปกครองดูแลและสั่งให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปยังศาลภายใน 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนภายหลังถูกจับได้ในกรณีดังนี้
1)       กรณีที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดมีบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย
2)       บิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นว่ายังสามารถปกครองดูแลเด็กหรือเยาวชนนั้นได้
3)       ในกรณีไม่ว่าตามข้อ 1) หรือ ข้อ 2) ดังกล่าว  หากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเด็กหรือเยาวชนจะไม่ไปศาล  พนักงานสอบสวนจะเรียกประกันจากบุคคลดังกล่าวตามสมควรแก่กรณีก็ได้

4. การผัดฟ้อง
โดยหลักเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน  ให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการสอบสวน  และส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับหรือปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน  แล้วแต่กรณี [7]
หากในกรณีที่ไม่สามารถยื่นฟ้องได้ทันภายในกำหนด 30 วัน พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการผัดฟ้อง  โดยมีหลักเกณฑ์คือ
1)       กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม  หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าว (30 วัน)  ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี  ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง[8]
      ดังนั้น  เมื่อรวมเวลาแล้วความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปีไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม  พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีเวลาดำเนินการในชั้นสอบสวนและชั้นพนักงานอัยการได้สูงสุด 60 วัน
2)       ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินห้าปี  ไม่ว่าจะมีโทษปรับหรือไม่ก็ตาม  เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสองครั้งแล้ว  หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีก  โดยอ้างเหตุจำเป็นศาลจะอนุญาตตามคำขอนั้นได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล  ในกรณีเช่นว่านี้  ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง[9]
      ดังนั้น  เมื่อรวมเวลาแล้วความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกิน 5 ปี  ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีเวลาดำเนินการในชั้นสอบสวนและชั้นอัยการได้สูงสุด 90 วัน
      ในการพิจารณาคำร้องขอผัดฟ้อง  ถ้าเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหายังไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย  ให้ศาลแต่งตั้งให้เพื่อแถลงข้อคัดค้านหรือซักถามพยาน
                      ข้อสังเกตุ
หากพิจารณาเกี่ยวกับระยะเวลาในการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ซึ่งบัญญัติว่า   “ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี
            ในกรณีความผิดลหุโทษจะควบคุมไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การและที่จะรู้ว่า เป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น
            ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือ การฟ้องคดีให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 83 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น อันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ โดยให้พนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรือ อาจเรียกพยานหลักฐาน มาเพื่อประกอบพิจารณาก็ได้
            ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลง มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียวมีกำหนดไม่เกินเจ็ดวัน
            ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้แต่ ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน
            ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปี ขึ้นไปจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้ง ติดๆกันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
            ในกรณีตามวรรคหกเมื่อศาลสั่งขังครบสี่สิบแปดวันแล้ว หากพนักงานอัยการ หรือ พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอขังต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็นศาลจะสั่งขังต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการหรือ พนักงานสอบสวน ได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวน จนเป็นที่พอใจแก่ศาล”
                      สรุประยะเวลาในการผัดฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นมีระยะเวลาสูงสุด 84 วันเท่านั้น  จะเห็นได้ว่าการผัดฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นมีระยะเวลาแต่ละผัดน้อยกว่าการผัดฟ้องของเด็กและเยาวชน คือในตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาผัดฟ้องไม่เกิน 12 วันต่อผัด และรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 84 วัน  ในขณะที่ระยะเวลาผัดฟ้องเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พุทธศักราช 2553 กรณีฟ้องไม่ทัน 30 วันและผัดฟ้องต่อครั้งไม่เกิน 15 วันได้อีก  4  ครั้ง รวมระยะเวลาผัดฟ้อง  90 วัน ดังนั้นระยะเวลาควบคุมตัวตามมาตรา 78 มีระยะเวลาที่ยาวกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

5. การสอบสวน
การกำหนดวิธีปฏิบัติในการสอบสวนเด็กหรือเยาวชน[10] ดังต่อไปนี้
1)       ให้กระทำในสถานที่ที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน  ทั้งนี้โดยคำนึงถึงอายุ  เพศ  สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ
2)       ต้องใช้ภาษาและถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
3)       ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทย  จะต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
                      3.1) ให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                      3.2)  จัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
                      สำหรับในการแจ้งข้อกล่าวและการสอบปากคำหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดนั้น  พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการดังนี้[11]
1)       ต้องมีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง
2)       ให้แจ้งด้วยว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้  ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงอายุ  เพศ  และสภาพจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแต่ละราย
ในการแจ้งข้อหาและการสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนนั้นบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยจะเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้[12]  ดังนั้นแม้ไม่มีบุคคลดังกล่าวอยู่ด้วยก็ไม่มีผลต่อการแจ้งข้อหาและการสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนแต่อย่างใด

6. การจัดหาที่ปรึกษากฎหมาย
การจัดที่ปรึกษากฎหมายในชั้นสอบสวนจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กหรือเยาวชนมาอยู่ต่อหน้าศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุม[13] และถ้าเด็กหรือเยาวชนยังไม่มีที่ปรึกษากฎหมายให้ศาลตั้งให้
       




[1] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง.
[2] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80.
[3] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 66 วรรคสอง.
[4] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78.
[5] สมชัย  ฑีฆาอุตมากร,พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พลสยามพริ้นติ้ง,2554),หน้า 143.
[6] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 69.
[7] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 78 วรรคหนึ่ง.
[8] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 78 วรรคสอง.
[9] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 78 วรรคสาม.
[10] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 75.
[11] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 75 วรรคสอง.
[12] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 75 วรรคสาม.
[13] พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 73.