วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

เอกสารการสอนชุดที่ 4

ระบบความยุติธรรมทางอาญา ชุดที่ 4
อาจารย์เมธาพร กาญจนเตชะ
องค์กรตำรวจ
1. ความหมาย
ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็น "ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง" มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับของนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตรวจสอบและสอดส่องดูแลทุกข์สุขของประชาชน ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดทางกฎหมาย รักษากฎหมาย รวมทั้งดูแลรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
ตำรวจเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งและเป็นส่วนแรกในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตำรวจทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนด้วย โดยมีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้ต้องหา ค้นหาหลักฐาน สอบสวน และสรุปสำนวนว่าจะสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ แล้วจึงส่งเรื่องไปยังอัยการ
2. อำนาจหน้าที่ของตำรวจ
2.1 อำนาจหน้าที่ทั่วไป มีดังนี้
1) รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
2) รักษากฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดทางอาญา
3) บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน
4) ดูแลรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
2.2 อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญา แยกออกได้ 2 กรณี
1) อำนาจหน้าที่ทั่วไป
1.1) อำนาจในการสอบสวนคดีอาญา
1.2) อำนาจในการสืบสวนคดีอาญา
2) อำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สรุปสาระสำคัญและจัดแบ่งเฉพาะที่สำคัญได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
2.1) การร้องทุกข์ในคดีอาญา เมื่อเกิดอาชญากรรมหรือคดีอาญาขึ้น
(1) ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดที่เกิดขึ้น
(2) เจ้าพนักงานผู้ประสบเหตุ หรือ
(3) ผู้เห็นเหตุการณ์ ฝ่ายหนึ่ง อาจนำเรื่องไปแจ้ง กล่าวโทษ หรือร้องทุกข์ต่อตำรวจ โดยผู้ต้องหา ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอาญานั้น ๆ อยู่อีกฝ่ายหนึ่ง
2.2) ตำรวจทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน โดยรับแจ้งเหตุแล้วทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเป็นสำนวนคดี และเพื่อให้ตำรวจสามารถดำเนินการได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติให้อำนาจตำรวจ (พนักงานสอบสวน) ไว้ดังนี้
(1) อำนาจในการสอบสวนและสืบสวนคดีอาญา เพื่อให้ทราบตัวผู้กระทำความผิดและหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำผิด
(2) ตรวจค้นตัวบุคคลและสถานที่ เพื่อหาพยานหลักฐานและจับกุมผู้ต้องหา
(3) จับกุมผู้ต้องหา เพื่อนำมาดำเนินคดี
(4) ออกหมายเรียกพยานและผู้ต้องหา มาเพื่อทำการสอบสวนไว้เป็นพยานหลักฐานในคดี
(5) ยึดวัตถุพยาน เพื่อเป็นพยานหลักฐานในคดี
(6) ควบคุมตัวผู้ต้องหา เพื่อทำการสอบสวน
(7) ให้ประกันตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวน
2.3) คดีอาญาที่เลิกกันได้ในชั้นตำรวจในฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนี้
(1) คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เช่น คดีฉ้อโกงทรัพย์ และยักยอกทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์
(2) คดีที่ตำรวจมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามกำหนดแล้ว เช่น คดีความผิดพระราชบัญญัติจราจร เป็นต้น
2.4) อำนาจการควบคุมผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนของตำรวจ เฉพาะคดีที่มีอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจตำรวจทำการควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ในระหว่างการสอบสวนได้ แยกเป็น 2 กรณี คือ
(1) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 48 ชั่วโมง
(2) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญา ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 3 วัน
2.5) การขอผัดฟ้อง และฝากขังผู้ต้องหา หลังจากครบอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาแล้ว หากการสอบสวนยังไม่เสร็จ ตำรวจต้องนำผู้ต้องหาไปขอผัดฟ้อง ฝากขัง ต่อศาลแขวงหรือศาลอาญา ดังนี้
(1) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ผัดฟ้อง (ในกรณีผู้ต้องหามีประกันตัว) หรือผัดฟ้องฝากขังในกรณีผู้ต้องหาไม่มีประกันตัวได้ไม่เกิน 5 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 6 วัน
(2) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญา
(3) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฝากขังได้หลายครั้งติด ๆ กัน แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน
(4) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ฝากขังได้หลายครั้งติด ๆ กัน ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 84 วัน
เมื่อศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขัง (คดีศาลแขวง) หรือฝากขัง (คดีอาญา) แล้ว จะมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในอำนาจการควบคุมของศาลซึ่งศาลจะได้มอบให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำตัวไปควบคุมไว้ในเรือนจำต่อไป
กรณีผู้ต้องหาได้ประกันตัวในชั้นสอบสวน ตำรวจไม่ต้องขออำนาจศาลฝากขังแต่อย่างใด
2.6) การสรุปสำนวนของตำรวจ เมื่อตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ก็จะสรุปสำนวนการสอบสวน มีความเห็นทางคดีได้ 3 ทาง ดังนี้
(1) เห็นควรงดการสอบสวน (กรณีไม่มีตัวผู้ต้องหา)
(2) เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา
(3) เห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา
2.7) กรณีตำรวจมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไป ส่วนการประกันตัวชั้นการควบคุมของอัยการ ผู้ต้องหามีสิทธิจะยื่นคำร้องขอประกันตัวต่ออัยการได้
2.8) กรณีตำรวจมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการเพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนตัวผู้ต้องหาหากอยู่ในความควบคุมของตำรวจให้ปล่อยตัวไป หากอยู่ในความควบคุมของศาล ให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาต่อศาล
สรุป ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมเป็นลำดับแรก อำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานหรือบริหารงานราชการของตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่สำคัญ มี 8 ขั้นตอน ซึ่งมากเพียงพอที่จะให้ความยุติธรรมและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้

3. ขอบเขตอำนาจของตำรวจในการดำเนินคดีอาญา
· ป.วิอาญา มาตรา 120
4. เขตอำนาจสืบสวนคดีอาญาของตำรวจ
· ป.วิอาญา มาตรา 17 “ ...ตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้”
5. ความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างการสืบสวนกับการสอบสวนคดีอาญา
· ป.วิอาญา มาตรา 2(10) “การสืบสวน”
· ป.วิอาญา มาตรา 2(11) “การสอบสวน”
6. การใช้ดุลพินิจของตำรวจ
6.1 ประเภทของดุลพินิจตำรวจไทย อาจแยกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) ดุลพินิจเพื่อดำเนินคดี
(2) ดุลพินิจเพื่อระงับคดี

6.2 การใช้ดุลพินิจของตำรวจ
6.3 กรณีที่ต้องใช้ดุลพินิจ
7. การควบคุมดุลพินิจของตำรวจ
8. มาตรการควบคุมดุลพินิจของตำรวจ
8.1 มาตรการควบคุมภายใน (Internal Control)
8.2 มาตรการควบคุมภายนอก (External Control)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น